การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test)

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) เป็นที่ยอมรับทั่วไปและมีมาตรฐานรองรับ ได้แก่ ASTM D4945-96 นอกจากนั้น การทดสอบดังกล่าวมีข้อดีหลายประการ เช่น 1. สามารถทำการทดสอบได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ เสาเข็มหลายต้นสามารถทําการทดสอบได้ในวันเดียว 2. ต้องการพื้นที่รอบๆ เสาเข็มไม่มากนักในการเตรียมการทดสอบ 3. ผลการทดสอบให้ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับเสาเข็มในเรื่องของกําลังรับน้ําหนักและความสมบูรณ์ของเสาเข็ม … Read More

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (SLUMP TEST) คืออะไร??

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (SLUMP TEST) คืออะไร?? การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต ใช้เพื่อทดสอบหาค่าความข้นเหลวของคอนกรีตในสภาพเหลวโดยใช้วิธีการทดสอบหาค่าการยุบตัว เพื่อตรวจสอบความสามารถเทได้ของคอนกรีต (Workability) ค่ายุบตัวไม่ได้เป็นค่าที่วัดความสามารถเทได้ของคอนกรีตโดยตรง แต่เป็นการวัดความข้นเหลวของคอนกรีต (Consistency) หรือลักษณะการไหลตัวของคอนกรีต (Flow Characteristic) แม้วิธีนี้จะไม่เหมาะสมสำหรับทดสอบคอนกรีตที่เหลว หรือแห้งมากแต่ก็มีประโยชน์อย่างมากและสะดวกสำหรับการควบคุมความสม่ำเสมอของการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เช่น ในกรณีที่ค่ายุบตัวของคอนกรีตมีค่ามากกว่าปกติที่ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าจะต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นในสัดส่วนผสม ขนาดคละหรือความชื้นในมวลรวมซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตคอนกรีตสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ … Read More

ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล และการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG

ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล และการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG 1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ ในโครงการก่อสร้าง ขั้นตอนในการทำ BORING LOG เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการทำงานก่อสร้างในโครงการหนึ่งๆ 2) เพื่อให้การออกแบบเป็นไปด้วยความ ประหยัด และ ถูกต้อง ทั้งงานหลักของโครงการ งานก่อสร้างชั่วคราว งานปรับปรุงคุณภาพดิน และการควบคุมน้ำใต้ดิน … Read More

ขั้นตอนและวิธีการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE) เสาเข็มเพื่อการต่อเติม

ขั้นตอนและวิธีการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE) เสาเข็มเพื่อการต่อเติม -ย้ายตัวปั่นจั่นให้เข้าที่ เพื่อให้ตรงกับตำแหน่งที่จะทำการลงเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และหลังจากนั้นจะทำการทดสอบโดยการทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลางว่าได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้หรือไม่ -ทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลางว่าได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้หรือไม่ -นำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกไปวางในตำแหน่งที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องโดยการจับระดับด้วยมาตรวัดระดับน้ำเพื่อให้ได้แนวดิ่ง ทั้งแกน x และ … Read More

วิธีพิจารณาระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็ม FOUNDATION

วิธีพิจารณาระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็ม ก่อนอื่นจะต้องทราบก่อนว่า กำลังออกแบบให้โครงสร้างฐานรากของเรานั้นมีสมมติฐานเป็นแบบใดระหว่าง “ฐานรากที่มีความอ่อนตัว FLEXIBLE FOUNDATION” หรือว่าเป็น “ฐานรากที่มีความแข็งตัว RIGID FOUNDATION” พอทราบสมมติฐานข้างต้นแล้ว ก็จะมีเกณฑ์ในเรื่องของการคำนวณหาระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มมากที่สุด หากว่าโครงสร้างฐานรากนั้นเป็นฐานรากที่มีความอ่อนตัว สำหรับกรณีนี้จะไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มมากที่สุด เพราะโครงสร้างฐานรากก็จะต้องเกิดการเสียรูปได้อยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีความจำที่จะต้องทำการคำนึงถึงเรื่องระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มมากที่สุด หากว่าโครงสร้างฐานรากนั้นเป็นฐานรากที่มีความแข็งตัว สำหรับกรณีนี้จะต้องพิจารณาเรื่องข้อจำกัดในเรื่องระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มมากที่สุด เพราะว่าเวลาออกแบบโครงสร้างฐานรากโดยอาศัยสมมติฐานนี้นั่น ก็เท่ากับว่ากำลังอาศัยทฤษฎีของแผ่นเปลือกหนาหรือ … Read More

ชนิด และ ประเภทของเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ Spunmicropile

ชนิด และ ประเภทของเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ Spunmicropile เสาเข็มมีมากมายหลายชนิด และหลายประเภทตามรูปแบบการก่อสร้าง โดยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE) ของทางภูมิสยามถูกจำแนกให้อยู่ในประเภท เสาเข็มตอก (DRIVEN PILE) คือ การใช้ปั้นจั่นทำการตอกเสาเข็มลงไปในดินจนได้ความลึกตามที่ต้องการ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากวิธีการก่อสร้างไม่ซับซ้อน … Read More

ประเภทของฐานราก ทั้งฐานรากชนิดตื้นและชนิดลึก

ประเภทของฐานราก ทั้งฐานรากชนิดตื้นและชนิดลึก มีลักษณะของการก่อสร้างและความสามารถในการรับน้ำหนักที่แตกต่างกัน แบ่งได้ดังนี้ -ฐานแผ่เดี่ยว (Spread Footing) หมายถึงฐานรากที่รับน้ำหนักจากเสาอาคาร เพียงต้นเดียว แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่พื้นดิน ความหนาของตัวฐานต้องสามารถต้านทานโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนได้อย่างเพียงพอ และสามารถป้องกันการกัดกร่อนตัวเหล็กเสริมเนื่องจากความชื้น ในบางกรณีที่เสาอาคารไม่วางอยู่บนศูนย์กลางฐานราก เช่นอยู่ติดเขตที่ดินอาจถูกออกแบบให้เสาวางอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของฐานราก เราเรียกว่าฐานรากแบบนี้ว่า ฐานรากตีนเป็ด -ฐานต่อเนื่องรับกำแพง (Continuous Footing) หมายถึงฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักจากผนังก่ออิฐ … Read More

การรับน้ำหนักบรรทุกของ ฐานรากแบบเสาเข็ม (Pile Foundation)

การรับน้ำหนักบรรทุกของ ฐานรากแบบเสาเข็ม (Pile Foundation) การวิบัติของเสาเข็ม การวิบัติของเสาเข็ม จะเกิดขึ้นได้เมื่อรับน้ำหนักบรรทุกเกินผลรวมของกำลังรับน้ำหนักบรรทุกที่ปลาย กับกำลังรับน้ำหนักบรรทุกที่ผิวของเสาเข็ม แต่ในความเป็นจริงแล้ว แรงต้านจะเกิดขึ้นเมื่อเสาเข็มถูกกระทำจนเกิดการเคลื่อนที่ แรงต้านที่ผิวจะเกิดเมื่อเสาเข็มเคลื่อนตัว 5-10 มม. แต่แรงต้านที่ปลายต้องการการเคลื่อนที่ที่สูงกว่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเสาเข็มเจาะ อาจสูงถึงร้อยละสิบของขนาดเสาเข็ม ดังนั้น ในการออกแบบจึงมักประมาณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มจากแรงเสียดทานเท่านั้น ยกเว้นในกรณีที่ตัวเสาเข็มอยู่ในชั้นดินอ่อนและปลายอยู่ในชั้นดินแข็งอย่างชัดเจนจึงนำกำลังรับน้ำหนักบรรทุกที่ปลายมาคำนวณด้วย กำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มตอก (Driven … Read More

1 2 3